วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

การเลือก และการใช้งาน Software

>>> การเลือกใช้ Software ให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน <<< เนื่องจากในปัจจุบันทุก ๆ ปี จะมีภาษาคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์เกิดขึ้นมากมาย โดยจะมีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกันไป ดังนั้นในการ ใช้้ซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ดิจิตัลมาช่วยในการนำเสนองานผู้ใช้จึงจำเป็นที่จะต้องทำการคัดเลือกภาษาคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่จะนำมาใช้ให้มี ีความเหมาะสมกับลักษณะงานที่จะทำเนื่องจากเมื่อศึกษาและพัฒนา Application ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ใดซอฟต์แวร์หนึ่งแล้ว การเปลี่ยนไปใช้ภาษาคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์อื่นในภายหลังจะเป็นเรื่องที่ยากลำบาก อย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่จะสูญเสียไป รวมทั้ง ปัญหาที่จะต้องศึกษาหาความชำนาญใหม่อีกด้วย ## ภาษาคอมพิวเตอร์กับการใช้งาน ## ภาษาคอมพิวเตอร์เริ่มมาจากในมหาวิทยาลัย หรือในหน่วยงานของรัฐบาลที่ต้องการทำงาน บางอย่าง นอกจากนี้ บางภาษาเกิดขึ้นเพราะความต้องการด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้มีภาษาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ภาษาคอมพิวเตอร์บางภาษาได้ถูกออกแบบมาให้ใช้แก้ปัญหางานเฉพาะบางอย่าง เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ การสร้างภาพกราฟิก เป็นต้น แต่ภาษาคอมพิวเตอร์โดยมากจะมีความยืดหยุ่นให้ใช้งานทั่ว ๆ ไปได้ เช่น ภาษา BASIC ภาษา COBOL หรือภาษา FORTRAN เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีภาษา C ที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์กับการใช้งาน ภาษาคอมพิวเตอร์ การใช้งาน BASIC สำหรับผู้เริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ C++ สำหรับผู้ผลิตซอฟต์แวร์ LOGO นิยมใช้ในโรงเรียน เพื่อสอนทักษะการแก้ปัญหาให้กับนักเรียน Visual Basic ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมที่มีการติดต่อกับผู้ใช้เป็นแบบกราฟิก (GUI) JAVA ใช้สำหรับสร้างงานด้านกราฟิก หรือเกมต่าง ๆ คู่กับเว็บไซต์อีกทั้งยัง สามารถนำไปใช้เป็นภาษาสำหรับอุปกรณ์แบบฝังต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ และอุปกรณ์ขนาดมือถือแบบต่าง ๆ ActionScript เป็นโปรแกรมภาษา Programming ที่เขียนในโปรแกรม Flash เพื่อควบคุมภาพเคลื่อนไหว หรือสิ่งที่เรานำเข้าไปใน Flash




## ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์กับการใช้งาน ##


เนื่องจากในปัจจุบันซอฟต์แวร์ต่าง ๆ มีมาให้เลือกใช้อย่างมากมาย หากต้องการที่จะเลือกใช้งานซอฟต์แวร์จะต้องพิจารณาถึงรายละเอียดต่าง ๆ ด้วยว่าเหมาะสมกับลักษณะงานหรือไม่ เช่น หากต้องการที่จะพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาที่นำเสนอในรูปแบบของมัลติมิเดีย ที่มีภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง หรือการทำแบบทดสอบที่เหมาะสมสำหรับเด็ก อาจจะเลือกใช้โปรแกรม Flash ในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาก็ได้ เนื่องจากโปรแกรม Flash เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับสร้างงานด้านกราฟิก มัลติมิเดีย ภาพเคลื่อนไหว เสียง และภาพยนตร์อย่างสมบูรณ์ ที่สำคัญคือง่าย สะดวกรวดเร็ว และสามารถทำงานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ เกม การนำเสนอ หรือการเขียนโปรแกรมเพื่อตอบโต้กับผู้ใช้ เป็นต้น




ตัวอย่างซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์กับการใช้งานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา



ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ การใช้งาน

Adobe Photoshop ใช้สำหรับตกแต่งรูปภาพ

Flash ใช้สร้างงานในรูปแบบมัลติมิเดียที่เกียวกับภาพ เสียง
ภาพเคลื่อนไหว สร้างงานนำเสนอบนเว็บไซต์
เกม หรือสร้างสื่อพัฒนาการศึกษาสามารถเขียนโปรแกรม
เพื่อตอบโต้กับผู้ใช้ได้

Authorware ใช้ในการเรียบเรียงงานนำเสนอในลักษณะ Multimedia
มีทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงเพลง เสียงบรรยาย
และ Sound Effect ซึ่งสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้โปรแกรม
ได้หลายรูปแบบ

Captivate ใช้สำหรับพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาในรูปแบบของ CAI
สามารถรองรับไฟล์มัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ภาพ เสียง ภาพยนตร์
การบรรยายผ่านไมโครโฟนพร้อมการจับหน้าจอภาพ การตัดต่อวีดีโอ
สไลด์จากโปรแกรม Microsoft PowerPoint เป็นต้น

Desktop Author ใช่สำหรับสร้างเอกสารดิจิตอล เอกสารที่ได้มีลักษณะคล้ายกับ
หนังสือ ที่เรียกว่า E-book